ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีรัฐบุรุษ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531

บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

มีนักวิชาการและสื่อว่า พลเอกเปรมมีบทบาทในการเมืองไทย แม้รัฐบาลทหารหลังรัฐประหารปี 2549 ปฏิเสธข่าวนี้

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อ “เปรม” นั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล "ติณสูลานนท์" พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2462 เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) มีพี่น้องคือ

พล.อ.เปรม สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สงขลา ในหมายเลขประจำตัว 167 และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)

เมื่อจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2484 ได้เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485-2488 ที่เชียงตุง

ภายหลังสงคราม พลเอกเปรมรับราชการอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนทักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี

พลเอกเปรมได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อ พ.ศ. 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้านี้ ท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ป๋า" และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า "ลูก" ที่จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือ ป๋าเปรม และคนสนิทของท่านมักถูกเรียกว่า ลูกป๋า และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน

พลเอกเปรม ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคทึ่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2521

นอกจากยศ พลเอก แล้ว พลเอกเปรม ยังถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคล ที่ในปัจจุบันที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้รับยศ พลเรือเอก ของกองทัพเรือ และ พลอากาศเอก ของกองทัพอากาศ ด้วย จากการพระราชทานโปรดเกล้าฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 ในระหว่างที่ พลเอกเปรม ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ (แต่โดยมากจะนิยมใช้ พลเอก มากกว่า)

ในปี พ.ศ. 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรมได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วง พ.ศ. 2511 - 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร

พลเอกเปรมเข้าร่วมรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร

พลเอกเปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ในช่วงนั้น พลเอกเปรมได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ซึ่งตลอดระยะเวลาของพลเอกเปรมในการบริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย เช่น การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยอย่างได้ผล โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42: 3 มีนาคม 2523 - 29 เมษายน 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43: 30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44: 5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ

ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรมที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

2.การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) โดยสานต่อจากนโยบายเงินผันที่ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลของหม่อราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

3.การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ

4.การแก้ปัญหาการตกต่ำทางเศรษฐกิจในข่วงแรกที่เข้าบริหารประเทศ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายประหยัดมุ่งเน้นในด้ารการผลิตและการส่งออกของสินค้ากับประเทศสังคมนิยมตะวันออกอย่างได้ผล ทำให้รัฐบาลชุดนี้สามารถสร้างเสริมกำลังทางด้าน เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศได้อย่างน่าภูมิใจ จึงนับว่ารัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นผู้สร้างฐานเศรษฐกิจของชาติที่สำคัญ ทำให้ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองที่เป็นเงินตราต่างชาติมากขึ้น รัฐบาลได้สนับสนุนการส่งออก

5.การเข้าร่วมประชุมองค์การสหประชาชาติที่สหรัฐอเมริกา ทั้งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยังได้เป็นผู้กล่าวปราศรัยสุนทรพจน์ในที่ประชุมด้วย ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยดีขึ้นต่อสายตาต่างชาติ มุมมองทางด้านการลงทุนจากนักลงทุนท้งหลายต่อท่าทีของภาวะทั่วไปของเศรษฐกิจไทยในด้ารการผลิตและการอุตสาหกรรมนั้นแจ่มใสและชัดเจนมากขึ้น

ผลงานสำคัญชิ้นหนึ่ง ของพลเอกเปรม คือการผลักดันนโยบาย “การเมืองนำการทหาร” ซึ่งปรากฏออกมาในรูป คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 65/2525 เพื่อยุติการทำสงครามสู้รบ ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กับ ฝ่ายรัฐบาล ผลพวงจากนโยบายดังกล่าว ทำให้นักศึกษา ที่หนีเข้าป่าภายหลังเหตุการณ์ 6 ตค.2519เพื่อจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล มีโอกาสหวนมาเดินบนหนทางแห่งสันติภาพได้ นโยบายดังกล่าว ช่วยลด กระทั่งดับเชื้อไฟสงครามกลางเมืองในช่วงนั้นลง เพื่อให้รัฐบาลสามารถทุ่มเทกำลัง มาฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ในช่วงปี 2524 การส่งออกของไทย โดยเฉพาะพืชผลเกษตรประสบปัญหา ขณะเดียวกัน มีปัญหาการขาดดุลการค้า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เงินบาทของไทย ผูกติดกับดอลลาร์ของสหรัฐฯซึ่งแข็งตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ พลเอกเปรม ได้ตัดสินร่วมกับทีม รมต.เศรษฐกิจ ที่จะลดค่าเงินบาทถึงสามครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่สาม ในวันที่ 2 พย. 2523 ซึ่งมีการปรับลดถึงร้อยละ 15

นอกจากนั้น รัฐบาลพลเอกเปรมยังได้ปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนจาก “อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ “ระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐ มาเป็น “ระบบตะกร้าเงิน” ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

โครงการสำคัญ เช่น การพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก การสร้างท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด และ แหลมฉบัง ล้วนตัดสินดำเนินโครงการ ในช่วงรัฐบาลพลเอกเปรมทั้งสิ้น

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549 มีนักวิชาการกล่าวหาพลเอกเปรมว่ามีความเกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ที่นำไปสู่รัฐประหาร ซึ่งในเวลาพลบค่ำวันที่ 19 กันยายน ช่วงเดียวกับที่กำลังทหารหน่วยรบพิเศษจากจังหวัดลพบุรีเคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพมหานคร พลเอกเปรมเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า พลเอกเปรมเป็นผู้สั่งการรัฐประหารโดยนั่งบัญชาการอยู่ที่บ้านสี่เสาร์เทเวศร์ มีบทวิเคราะห์จากสำนักข่าว XFN-ASIA ระบุในเว็บไซต์นิตยสารฟอร์บ ว่า พลเอกเปรมเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองไทย พร้อมทั้งสนับสนุนให้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) รัฐประหารรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ฝ่ายรัฐบาลทหารว่า พลเอกเปรมไม่เคยมีบทบาททางการเมือง

ในเวลาต่อมา มีการอ้างว่า พลเอกเปรมอาจมีบทบาทสำคัญในการเชิญพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตลูกน้อง มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย จนนักวิจารณ์บางคน กล่าวว่า สภาฯ ชุดนี้เต็มไปด้วย "ลูกป๋า"

วันที่ 22 กรกฎาคม 2550 นปก. นับพันรวมตัวประท้วงหน้าบ้านของพลเอกเปรมเพื่อเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เพราะเชื่อว่ามีบทบาททางการเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าสลายการชุมนุม มีการยิงแก๊สพริกไทยแล้วล้อมรถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงของแกนนำ ผู้ชุมนุมขว้างปาขวดพลาสติกและขวดแก้วใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เกิดการปะทะกันชุลมุนวุ่นวาย เจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บหลายคน ด้านแยกสี่เสาเทเวศร์ กลุ่ม นปก.ส่วนหนึ่งทุบทำลายซุ้มตำรวจจราจรและทุบรถส่องไฟและกระจายเสียงของตำรวจที่จอดไว้ รวมทั้งปล่อยลมยางรถยนต์ ในวันต่อมา พลเอกสนธิ พลเอกสุรยุทธ์ และคณะรัฐมนตรีไปเยี่ยมพลเอกเปรมเพื่อขอโทษที่ยอมให้มีการประท้วง

บางกอกพันดิท (Bangkok Pundit) เขียนในเอเชียคอร์เรสปอนเดนท์ว่า พลเอกเปรมเป็นผู้เล่นสำคัญในการเมืองไทยในหลายทศวรรษหลัง เจมส์ อ็อกคีย์ (James Ockey) ว่า "ก่อนรัฐบาลไทยรักไทยกำเนิดในปี 2544 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบกแทบทุกคนในทศวรรษที่ผานมาเป็นอดีตผู้ช่วยของเปรม" แต่ "แน่นอนว่ายิ่งเปรมเกษียณนานเท่าไร อิทธิพลของเขาในกองทัพก็ยิ่งอ่อนลงเท่านั้น" เขามีอำนาจและอิทธิพลสูงสุดเมื่อรัฐประหารปี 2549 เป็นสะพานเชื่อมระหว่างกองทัพและพระราชวัง ทว่า นับแต่ปี 2549 อำนาจของเขาและความสามารถมีอิทธิพลจางลงเมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาและบูรพาพยัคฆ์มีเส้นสายของตัวและสามารถเลี่ยงพลเอกเปรมได้แล้ว Marwaan Macan-Markar เขียนว่า "ต่างกับสนธิ ประยุทธ์ยังไม่เป็นหนี้บุญคุณเครือข่ายอิทธิพลซึ่งเป็นผู้รักษาประตูสู่พระมหากษัตริย์แต่เดิม อันเป็นที่สถิตของอำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร" และ "บูรพาพยัคฆ์คืนชีพโดยทำลายสายการบังคับบัญชาเดิมซึ่งเป็นหนี้บุญคุณต่อพลเอกเปรม เขามีสามัคคีจิตของเขาเอง"

พลเอกเปรม ชื่นชอบดูการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะกีฬามวยและฟุตบอล มักเปิดโอกาสให้นักกีฬาเข้าพบเพื่อคารวะ และให้กำลังใจ ก่อนจะเดินทางไปแข่งขันในต่างประเทศอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังชื่นชอบการร้องเพลง ระยะหลังได้ฝึกหัดเล่นเปียโนกับ ณัฐ ยนตรรักษ์ และประพันธ์เพลงเป็นงานอดิเรก พลเอกเปรมมีผลงานเพลงบันทึกเสียงจำหน่าย บรรเลงดนตรีโดย กองดุริยางค์ทหารบก

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ? เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

พระยาพหลพลพยุหเสนา ? แปลก พิบูลสงคราม ? พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต ? อดุล อดุลเดชจรัส ? ผิน ชุณหะวัณ ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? กฤษณ์ สีวะรา ? บุญชัย บำรุงพงศ์ ? เสริม ณ นคร ? เปรม ติณสูลานนท์ ? ประยุทธ จารุมณี ? อาทิตย์ กำลังเอก ? ชวลิต ยงใจยุทธ ? สุจินดา คราประยูร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ? เชษฐา ฐานะจาโร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? สนธิ บุญยรัตกลิน ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? อุดมเดช สีตบุตร ? ธีรชัย นาควานิช ? เฉลิมชัย สิทธิสาท

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ? พระยาเสนาภิมุข ? หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ ? พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ สุทัศน์) ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ? พระยากฤษณรักษ์ ? พระยาอินทรชิต ? พระยาพิชัยสงคราม ? กาจ กาจสงคราม ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? วิชัย พงศ์อนันต์ ? ชลอ จารุกลัส ? กฤษณ์ สีวะรา ? อรรถ ศศิประภา ? สำราญ แพทยกุล ? อ่อง โพธิกนิษฐ์ ? เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ? ประเสริฐ ธรรมศิริ ? ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ? อำนาจ ดำริกาญจน์ ? เทพ กรานเลิศ ? ปิ่น ธรรมศรี ? วศิน อิศรางกูร ณ อยุธยา ? อาทิตย์ กำลังเอก ? พัฒน์ อุไรเลิศ ? พิจิตร กุลละวณิชย์ ? วัฒนชัย วุฒิศิริ ? ศัลย์ ศรีเพ็ญ ? ไพบูลย์ ห้องสินหลาก ? ชัยณรงค์ หนุนภักดี ? เชษฐา ฐานะจาโร ? บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ? วินิจ กระจ่างสนธิ์ ? นิพนธ์ ภารัญนิตย์ ? ทวีป สุวรรณสิงห์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? ไพศาล กตัญญู ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? คณิต สาพิทักษ์ ? อุดมเดช สีตบุตร ? ไพบูลย์ คุ้มฉายา ? ธีรชัย นาควานิช ? กัมปนาท รุดดิษฐ์ ? เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ? อภิรัชต์ คงสมพงษ์

หลวงวีระโยธา ? หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ? ไสว ไสวแสนยากร ? ครวญ สุทธานินทร์ ? สนิท สนิทยุทธการไทยยานนท์ ? หลวงสวัสดิ์ฤทธิรณ ? ชลอ จารุกลัส ? กฤษณ์ สีวะรา ? จิตต์ สุนทรานนท์ ? ธงเจิม ศังขวณิช ? จำลอง สิงหะ ? พโยม พหุลรัต ? สวัสดิ์ มักการุณ ? เปรม ติณสูลานนท์ ? แสวง จามรจันทร์ ? ลักษณ์ ศาลิคุปต ? พักตร์ มีนะกนิษฐ ? พิศิษฐ์ เหมะบุตร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ไพบูลย์ ห้องสินหลาก ? อารียะ อุโฆษกิจ ? อานุภาพ ทรงสุนทร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? เรวัต บุญทับ ? สนั่น มะเริงสิทธิ์ ? เทพทัต พรหโมปกรณ์ ? ชุมแสง สวัสดิสงคราม ? เหิร วรรณประเสริฐ ? สุเจตน์ วัฒนสุข ? สุจิตร สิทธิประภา ? วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล ? วีร์วลิต จรสัมฤทธิ์ ? ธวัชชัย สมุทรสาคร ? จีระศักดิ์ ชมประสพ ? ชาญชัย ภู่ทอง ? ธวัช สุกปลั่ง ? วิชัย แชจอหอ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ? วีระ วีระโยธา ? หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ? หลวงจุลยุทธยรรยง ? ครวญ สุทธานินทร์ ? ผ่อง บุญสม ? ประพันธ์ กุลพิจิตร ? อรรถ ศศิประภา ? อ่อง โพธิกนิษฐ ? สำราญ แพทยกุล ? ประสาน แรงกล้า ? ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ? สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ ? สีมา ปาณิกบุตร ? พร้อม ผิวนวล ? เทียบ กรมสุริยศักดิ์ ? รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ ? ชัยชนะ ธารีฉัตร ? ศิริ ทิวะพันธุ์ ? ไพโรจน์ จันทร์อุไร ? ยิ่งยส โชติพิมาย ? สุรเชษฐ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ? ถนอม วัชรพุทธ ? สมหมาย วิชาวรณ์ ? วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ ? อุดมชัย องคสิงห ? พิชาญเมธ ม่วงมณี ? สพรั่ง กัลยาณมิตร ? จิรเดช คชรัตน์ ? สำเริง ศิวาดำรงค์ ? ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ? วรรณทิพย์ ว่องไว ? ชาญณรงค์ ธนารุณ ? ปรีชา จันทร์โอชา ? สาธิต พิธรัตน์ ? สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล ? วิจักขฐ์ สิริบรรสพ

สัณห์ จิตรปฏิมา ? ปิ่น ธรรมศรี ? จวน วรรณรัตน์ ? หาญ ลีนานนท์ ? วันชัย จิตจำนงค์ ? วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์ ? ยุทธนา แย้มพันธ์ ? กิตติ รัตนฉายา ? ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ ? ปรีชา สุวัณณะศรี ? ณรงค์ เด่นอุดม ? วิชัย บัวรอด ? ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ? พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ ? พิศาล วัฒนะวงค์คีรี ? ขวัญชาติ กล้าหาญ ? องค์กร ทองประสม ? วิโรจน์ บัวจรูญ ? พิเชษฐ์ วิสัยจร ? อุดมชัย ธรรมาสาโรรัชต์ ? สกล ชื่นตระกูล ? วลิต โรจนภักดี ? ปราการ ชลยุทธ ? วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ ? ปิยวัฒน์ นาควานิช


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301